การเจริญเติบโตของพืช
สาระการเรียนรู้ที่ 2 การเจริญเติบโตของพืช
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การดำรงชีวิตของพืช
แนวคิดสำคัญ
การเจริญเติบโตของพืช คือ การเพิ่มจำนวนเซลล์และการขยายขนาดของเซลล์พืช รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ ซึ่งเซลล์แต่ละชนิดจะร่วมกันทำทำงานในระบบต่าง ๆ ของต้นพืช เมล็ดเจริญเติบโตจากอาวุล ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด ใบเลี้ยง เอ็มบริโอ การงอกของเมล็ดต้องอาศัยน้ำ อากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ แสงแดด อากาศ น้ำ และแร่ธาตุ
1.น้ำ ช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม และช่วยละลายอาหารไปเลี้ยงต้นอ่อน
2.แก๊สออกซิเจนจากอากาศ เพื่อจะนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ
3.อุณหภูมิที่เหมาะสม จะอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น
2. กระบวนการเจริญเติบโตของพืช
กระบวนการเจริญเติบโตของพืชมี 3 กระบวนการ คือ
1.กระบวนการแบ่งเซลล์ เป็นกระบวนการที่พืชเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณปลายยอดและปลายราก
2.กระบวนการขยายขนาดของเซลล์ เป็นกระบวนการที่ทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น
3.กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ เช่น เซลล์เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ-แร่ธาตุ เซลล์เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร เซลล์คุม ขนราก
เราสามารถสังเกตการเจริญเติบโตของพืชได้จากการวัดขนาดของใบ ดอก ผล ลำต้น และราก การแตกกิ่งก้าน และการแตกหน่อ
2.1 เมล็ดและการงอก
เมล็ดมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. เปลือกเมล็ด (seed coat หรือ Testa) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเมล็ด เปลี่ยนแปลงมาจากผนังออวุล (integument) ส่วนมากมี 2 ชั้น
1.1 เปลือกเมล็ดชั้นนอก (testa) เจริญมาจากผนังชั้นนอกของออวุล (outer integument) จะแข็งหรือเหนียว ทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำ และป้องกันอันตรายต่าง ๆ เช่น แมลง เชื้อโรค และป้องกันอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ลมฟ้าอากาศ เป็นต้น
1.2 เปลือกเมล็ดชั้นใน (tegment) เจริญมาจากผนังชั้นในของออวุล (entegument) ส่วนมาก มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ สีขาว อ่อนนุ่ม
เปลือกเมล็ดบางชนิดอาจเชื่อมติดกันเป็นชั้นเดียว เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ เปลือกเมล็ดบางชนิดเปลี่ยนสภาพไปหลายรูปแบบ เช่น เป็นใยสีขาวทำให้เมล็ดปลิวไปตามลมได้ เช่น ฝ้าย หรือผนังชั้นนอกของออวุลของเมล็ดบางชนิด เปลี่ยนเป็นเนื้อนุ่ม ๆ รับประทานได้ เช่น เงาะ ลำไย เป็นต้น ซึ่งเรียกผลชนิดนี้ว่า ผลแบบมีปุยหุ้มเมล็ด (aril fruit)
บริเวณเปลือกด้านหนึ่งจะพบรอยแผลเป็นเล็ก ๆ อยู่ เรียกบริเวณนี้ว่า ขั้วเมล็ด (hilum) ใกล้ ๆ กันจะพบรูเล็ก ๆ เรียกรูไมโครไพล์ (micropyle) ซึ่งเป็นรูที่หลอดละอองเรณูงอกเข้าไปเพื่อให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่และโพลาร์นิวเคลียส
2. เอ็มบริโอ (embryo) เป็นส่วนที่จะเจริญไปเป็นต้นพืชเอ็มบริโอเกิดจากการผสมกันระหว่างเซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์ม เอ็มบริโอประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
2.1 ใบเลี้ยง (cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่ มีใบเลี้ยงสองใบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมี ใบเลี้ยงหนึ่งใบ ใบเลี้ยงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว จะมีลักษณะเป็นแผ่นขาว ๆ บาง ๆ เรียกว่าใบเลี้ยงธัญพืช (scutellum)
การเจริญเติบโตของพืชเริ่มต้นเมื่อเมล็ดได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืช เมล็ด (seed) คือ ส่วนที่เจริญมาจากออวุล (ovule) หลังการเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของดอก ภายในเมล็ดประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1.เปลือกเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนนอกสุดของเมล็ด ทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ด มีลักษณะแข็ง ด้านข้างของเมล็ดจะมี รอยแผล (cicatrix) ซึ่งเป็นส่วนที่เคยติดอยู่กับรังไข่ในดอก เมื่อหลุดออกมาจึงเกิดเป็นรอยแผล และมี รูไมโครไพล์ (micropyle) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รากแรกเกิดงอกออกจากเมล็ด
ภาพที่ 1 ภายในของเมล็ดถั่วและเมล็ดข้าวโพด
ภาพที่ 2 ใบเลี้ยงของต้นพืช
2.ใบเลี้ยง (cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่จะมีใบเลี้ยง 2 ใบอยู่ในเมล็ด เช่น ถั่ว มะขาม มะม่วง ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีใบเลี้ยงใบเดียว เช่น ข้าว ข้าวโพด มะพร้าว
เอนโดรสปิร์ม (endosperm) เป็นที่สะสมอาหารสำหรับต้นอ่อน พืชใบเลี้ยงคู่ ไปเลี้ยงซะหนาเพราะดึงอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาสะสมอยู่ในใบเลี้ยง พืชใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงจะบางเพราะไม่มีอาหารสะสม เปิดอาหารสะสมของใบเลี้ยงเดี่ยวจะอยู่ในเอนโดสเปิร์ม
3.เอ็มบริโอ (embryo) มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
ยอดแรกเกิด (plumule) เจริญไปเป็นใบ
ลำต้น (stem) เจริญไปเป็นลำต้นที่ใหญ่ขึ้น
รากแรกเกิด (radicle) เจริญไปเป็นราก
การงอก (germination) คือ สภาพที่เมล็ดเริ่มเจริญเติบโตไปเป็นพืชต้นใหม่ การงอกของเมล็ดเกิดขึ้นเมื่อเมล็ดพืชตกลงบนดินที่มีน้ำ อากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อเปลือกเมล็ดดูดซับน้ำจนเปลือกอ่อนนุ่ม อาหารที่สะสมอยู่ในเนื้อเมล็ดจะเป็นแหล่งพลังงานให้รากแรกเกิดงอกออกมาทางรูไมโครไพล์เป็นส่วนแรก จากนั้นเมื่อใบเลี้ยงอ่อนโผล่พ้นจากเปลือกหุ้มเมล็ด ยอดแรกเกิดจะเจริญไปเป็นใบแท้ ในขณะที่ลำต้นจะยืดตัวสูงขึ้น ส่วนใบเลี้ยงจะค่อย ๆ มีขนาดเล็กลงและหลุดไปในที่สุด
ภาพที่ 3 การงอกของเมล็ดพืช
2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
สิ่งจำเป็นที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ แสงแดด อากาศ น้ำ และแร่ธาตุ ปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญต่อพืชดังนี้
1.แสงแดด พืชจำเป็นต้องใช้แสงแดดในการสร้างอาหารหรือที่เรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จากกระบวนการนี้จะได้อาหารของพืช คือ น้ำตาลกลูโคส ซึ่งพืชอาจเก็บไว้ในรูปของแป้ง นอกจากนี้ยังได้น้ำและแก๊สออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์และสัตว์
ภาพที่ 4 แสงแดดเป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช
2.อากาศ ในอากาศมีแก๊สออกซิเจนเป็นส่วนประกอบประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ แก๊สออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช เนื่องจากกระบวนการหายใจที่เกิดขึ้นภายในเซลล์พืชเป็นกระบวนการที่แก๊สออกซิเจนรวมตัวกับน้ำตาลกลูโคส เพื่อให้ได้พลังงานมาใช้ในการทำงานของเซลล์พืช
ภาพที่ 5 น้ำเป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช
3.น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เนื่องจากในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัว น้ำเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ภายในเซลล์ช่วยละลายสารอาหารต่าง ๆ ช่วยลำเลียงสารอาหาร สารเคมี รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ ระหว่างเซลล์และน้ำยังช่วยลดอุณหภูมิภายในต้นพืชได้อีกด้วย
4.แร่ธาตุ ในการเจริญเติบโตของพืช พระธาตุช่วยในการทำงานของระบบต่างๆให้ดำเนินไปได้ด้วยดี เมื่อพืชขาดแร่ธาตุบางชนิดจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชผิดปกติ ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะของลำต้น ใบ ดอก และผลมีลักษณะผิดปกติ
ธาตุอาหารที่พืชต้องการในการเจริญเติบโตมีทั้งหมด 17 ชนิดได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิกเกิล เมื่อแบ่งตามความต้องการของพืชแบ่งออกเป็น
Google Slides ตารางธาตุที่สำคัญ
ปุ๋ย หมายถึง วัสดุใด ๆ ก็ตามที่นำมาใช้เพิ่มธาตุอาหารพืช แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
2.ปุ๋ยเคมี ได้จากหิน แร่ธาตุต่าง ๆ หรือสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย หินฟอสเฟตบด ปุ๋ยเคมีจะมีสูตรปุ๋ย เพื่อให้พืชได้รับปริมาณอาหารแต่ละชนิดตามที่ต้องการ เช่น
ภาพที่ 6 ปุ๋ยอินทรย์ที่ได้จากมูลของสัตว์
ภาพที่ 7 ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เป็นอัตราส่วน 1:1:1 เป็นสูตรปุ๋ยสำหรับต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโตทางใบและกิ่ง นิยมเรียกว่า สูตรเร่งใบ
สูตรปุ๋ยเกิดจากไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (N-P-K) โดยปุ๋ย 100 กิโลกรัมจะให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมตามสูตร
ปุ๋ยสูตร 16-32-16 เป็นอัตราส่วน 1:2:1 เป็นสูตรปุ๋ยสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการออกดอกของพืช นิยมเรียกว่า สูตรเร่งดอก
ปุ๋ยสูตร 16-32-32 เป็นอัตราส่วน 1:2:2 เป็นสูตรปุ๋ยสำหรับต้นไม้ที่ต้องการผลโดยการเร่งให้เกิดดอกมาก เพื่อให้กลายเป็นผล นิยมเรียกว่า สูตรเร่งผล